ลืมรหัสผ่าน / สมัครสมาชิก

สถิติวันนี้ 3 คน
สถิติเดือนนี้ 1,103 คน
สถิติปีนี้ 5,447 คน
สถิติทั้งหมด 218,244 คน
ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2554
  • ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ศูนย์ใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
  • ၸုမ်းၾၢႆႇလဵပ်ႈႁဵၼ်းလွင်ႈတႆး ဝိတ်းထယႃးလႆးႀုမ်းႀူၼ်းမႄႈႁွင်ႈသွၼ် ႁူမ်ၸူမ်းႁပ်ႉတွၼ်ႈယူႇၶႃး

กลับหน้าหลัก ฐานข้อมูล

ประวัติการค้าไม้สักในแม่ฮ่องสอน

(02/09/2011 เวลา 11:32:55)

ประวัติการค้าไม้สักในแม่ฮ่องสอน

การค้าไม้ในแม่ฮ่องสอน

การค้าไม้ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเริ่ม ดำเนินการครั้งแรกตั้งแต่อังกฤษแผ่ขยายอำนาจการปกครองเข้าในประเทศพม่าเมื่อ พ.ศ.2369 พม่าได้ทำสัญญากับอังกฤษยินยอมให้อังกฤษเข้าปกครอง ต่อมาอังกฤษจึงเริ่มเข้ามาทำธุรกิจค้าขายการค้าไม้สักในบริเวณชายแดนไทยพม่า เนื่องจากไม้สักในบริเวณนี้มีคุณภาพดี มีลวดลายที่สวยงาม กิจการการทำไม้สักได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการตั้งบริษัททำไม้อย่างเป็นทางการขึ้นในประเทศพม่า เช่นบริษัทบริติสบอร์เนียว และบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการสร้างโรงเลื่อยจักรขึ้นที่เมืองมะละแหม่งจนที่กลายมาเป็น เมืองท่าส่งออกไม้สักที่สำคัญแห่งหนึ่งของพม่า บริษัทของอังกฤษทำไม้อยู่ในพม่านานหลายปี จนปริมาณไม้สักในพม่าเริ่มลดลง ชาวอังกฤษรวมทั้งชาวพม่า ไทใหญ่ กะเหรี่ยงและต่องสู่เริ่มเข้ามาทำไม้สักในบริเวณชายแดนไทยพม่า(แสงสุรีย์ ลดาวัลย์ 2545: 95-97)

ปี พ.ศ. 2374 เจ้าหลวงพุทธวงศ์ มอบหมายให้เจ้าแก้วเมืองมาออกสำรวจป่าแถบตะวันตกและจับช้างป่ามาฝึกใช้งาน ชักลากไม้ เจ้าแก้วเมืองมาจึงนำขบวนคล้องช้างป่าผ่านไปทางเมืองปายมุ่งหน้าไปทางทิศ ตะวันตก จากนั้นล่องลงทางทิศใต้ไปตามลำน้ำปาย จนพบทำเลที่เหมาะสมจึงตั้งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำปาย จากนั้นก็ตั้งค่ายพักแรมพำนักอยู่ที่นั่น เจ้าแก้วเมืองมาได้เรียกประชุมชาวบ้านมาแนะนำให้บุกเบิกที่ดินทำไร่ พร้อมแต่งตั้งให้ผู้นำหมู่บ้านชาวไทใหญ่ชื่อ พะกาหม่อง เป็นผู้นำ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านโป่งหมู” ตามลักษณะภูมิประเทศที่มีโป่งดินอยู่ทั่วไปและมีหมูป่าลงมากินดินโป่งชุกชุม ต่อมาชื่อหมู่บ้านได้เพี้ยนมาเป็น ปางหมู จากนั้นเจ้าแก้วเมืองมาก็เคลื่อนขบวนลงมาทางใต้เมื่อมาถึงริมห้วยใกล้หมู่ บ้านไทใหญ่แห่งหนึ่ง เห็นเป็นทำเลเหมาะ จึงได้หยุดพักตั้งค่าย ส่งบรรดาไพล่พลช้างต่อหมอควาญออกตระเวนจับช้างป่าและตั้งคอกฝึกช้างที่ บริเวณริมห้วย และส่ง แสนโกม บุตรเขยของพะกาหม่องที่ติดตามมาด้วยทำการชักชวนผู้คนจากบริเวณใกล้เคียงมา อยู่ร่วมกันเป็นหมู่บ้าน ให้ชื่อว่า แม่ร่องสอน ซึ่งหมายถึงร่องน้ำอันเป็นที่ฝึกสอนช้าง(ต่อมาเพี้ยนเป็น แม่ฮ่องสอน) และแต่งตั้งให้แสนโกมเป็นผู้ใหญ่บ้าน (แสงสุรีย์ ลดาวัลย์ 2545 : 95-97)

ต่อมาในช่วงปีพ.ศ. 2383 คนมอญ และพม่าได้รับอนุญาตเข้าทำสัมปทานป่าไม้ในเขตเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเจ้าเมืองมีสิทธิให้เข้าทำป่าไม้แบบไม่ต้องขอส่วนกลาง พ.ศ. 2385 มีการขอเข้าตัดไม้แถวบริเวณแม่น้ำยวม และ พ.ศ. 2389 มีการทำสัญญาตกลงระหว่างเจ้าเมืองเชียงใหม่กับข้าหลวงในอังกฤษ เรื่องค่าตอไม้โดยเริ่มที่ต้นละ 1 รูปี ในปีพ.ศ. 2439 เพิ่มเป็น 12 รูปี ต่อมาพะกาหม่องและแสนโกมเข้าเฝ้าเจ้ามโหตรประเทศและขอตัดไม้สักในดินแดนแถบ นี้ส่งไปขายยังเมืองมะละแหม่ง เจ้ามโหตรประเทศทรงยินยอมโดยมีเงื่อนไขให้ทั้งสองจัดแบ่งเงินค่าตอไม้มาถวาย ทุกปี จนกระทั่งพ.ศ. 2399 เกิดการรบพุ่งแย่งชิงความเป็นใหญ่กันในหมู่หัวเมืองไทใหญ่แถบตะวันตกของแม่ น้ำสาละวินมีชาวไทใหญ่จำนวนมากอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านปางหมูและบ้านเมือง ปาย และมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ ชานกะเล อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านปางหมู ต่อมาได้รับความไว้วางใจให้ไปครองเมืองขุนยวม จากนั้นมาแม่ฮ่องสอนเริ่มมีชาวไทใหญ่อพยพมาตั้งหลักปักฐานกันมากขึ้น ชาวบ้านต่างพากันบุกเบิกถางป่าเพื่อทำไร่ทำนา นอกจากนี้ยังมีชาวไทใหญ่และต่องสู่ที่เชี่ยวชาญการทำไม้จากเขตพม่าเริ่มเข้า มาหาทางทำกินในฝั่งไทยกันมากยิ่งขึ้น (แสงสุรีย์ ลดาวัลย์ 2545 : 95-97)

เมื่อประชากรมาอาศัยในบริเวณนี้มากขึ้น เจ้าอินทวิชยานนท์ผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้นทรงตระหนักถึงความสำคัญของ หมู่บ้านแห่งนี้ จึงทรงยกฐานะแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อพ.ศ. 2417 โดยมีเมืองปายและขุนยวมรวมอยู่ในอาณาเขตด้วย ส่วนเมืองสะเรียงให้ขึ้นตรงต่อเมืองเชียงใหม่ และแต่งตั้งผู้นำในท้องถิ่นคอยเป็นหูเป็นตาและส่งส่วยลงอากรให้แก่เจ้าเมือง เชียงใหม่ปีละครั้ง ซึ่งชานกะเลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพญาสิงหนาทราชา เป็นเจ้าเมืองคนแรก และชาวเมืองถือว่าเป็นเจ้าฟ้าตามแบบเจ้าผู้ครองนครในเมืองไทใหญ่ของรัฐฉาน ในสมัยพญาสิงหนาทราชาที่ปกครองเมืองได้พัฒนาแม่ฮ่องสอนให้เจริญขึ้นหลายด้าน เช่น มีการขุดสร้างขอบคูประตูเมืองเมื่อ พ.ศ. 2428 ซึ่งในปัจจุบันเหลือเพียงร่องรอยพอให้เห็นเป็นแนวได้ มีย่านตลาดที่เรียกว่า ป๊อกกาดเก่าซึ่งอยู่ติดกับวัดม่วยต่อในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าการค้าเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ในชุมชนนี้ (แสงสุรีย์ ลดาวัลย์ 2545 : 95-97)

นายห้างฝรั่งทำไม้

ตั้งแต่ พ.ศ. 2432 เป็นต้นมาบริษัทอังกฤษเริ่มเปลี่ยนบทบาทจากการรับซื้อไม้จากชาวพม่า ชาวไทใหญ่ และคนท้องถิ่นมาลงทุนทำไม้ในล้านนาเองอย่างเต็มตัวโดยขอเช่าสัมปทานป่าจาก เจ้าเมืองโดยตรง มีการทำป่าไม้ของอังกฤษบริเวณชายแดนระหว่างไทยกับพม่า และบริเวณชายแดนไทยกับพม่าในขณะนั้นเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้สัก คุณภาพดี สิ่งดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งทำให้ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งตะวันตก แม่น้ำสาละวินติดกับเขตแม่ฮ่องสอนได้แก่ เมืองแจะ เมืองใหญ่ เมืองทา เมืองจวด เมืองหาง เมืองต่วน เมืองยวน เมืองตูม เมืองกวาน เมืองไฮ เมืองฮ่องลึก และเมืองโก ซึ่งเคยอยู่ใต้การปกครองล้านนามาตั้งแต่สมัยพญากาวิละให้แก่อังกฤษ ต่อมา พ.ศ. 2404 ข้าหลวงอังกฤษประกาศให้เมืองมะละแหม่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการค้าไม้ และพ.ศ.2407 บริษัทบริติชบอร์เนียวเข้ามาทำการค้าขายไม้ ด้วยเหตุผลทางความมั่นคง เมื่อพ.ศ. 2432 รัฐบาลสยามจึงปรับระบบการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวมหัวเมืองเข้าสู่ส่วนกลาง และยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชรวมหัวเมืองล้านนาจัดตั้งขึ้นเป็นมณฑลพายัพ และจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน นอกจากนี้ได้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการบริหารการป่าไม้ของเจ้าเมืองเหนือทำให้ เกิดเหตุการณ์พิพาทกับทางบริษัทป่าไม้ของอังกฤษและคนในบังคับแล้ว ปัญหาเขตสัมปทานป่าไม้ที่ไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจนและมีการตัดไม้ที่ยังไม่ ได้อายุ เป็นเหตุให้ทางรัฐบาลสยามถือโอกาสเข้ามาจัดการควบคุมป่าไม้เอง โดยการโอนอำนาจการครอบครองถือสิทธิ์ป่าไม้ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน และจัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นใน พ.ศ. 2439 มีนายเอช.เสลด เป็นเจ้ากรมป่าไม้คนแรก (แสงสุรีย์ ลดาวัลย์ 2545 : 98-99)

พ.ศ. 2434 บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าเข้ามาแม่ฮ่องสอน (สมัยพญาพิทักษ์สยามเขต) โดยเข้ามาเช่าจากรัฐบาลสยาม ซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาลให้เช่าทำทั้งหมดเป็นเวลา 50 ปี ทำให้พ่อค้าไม้ขาดอิสรภาพไม่เหมือนแต่ก่อน ถือว่าเป็นช่วงหายานะของพ่อค้าไม้ในแม่ฮ่องสอนและแถบเชียงใหม่ในสมัยนั้น เช่น นางไหลเท ผู้มีช้างจำนวนมากเมื่อเข้าทำไม้หรือรับเป็นลูกช่วงกับบริษัทค้าไม้ทำให้ขาด ทุน และต้องส่งช้างให้เป็นสมบัติของบริษัทและชาวบ้านทั่วไปไม่สามารถเข้าไปตัด ฟันไม้ได้เองเหมือนแต่ก่อน จึงต้องกลายเป็นลูกจ้างของอังกฤษหรือรับเป็นช่วงทำไม้ส่งให้แก่บริษัท หลังจากบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าได้สัมปทานแล้ว ก็เข้ามาตั้งสำนักงานสาขาอยู่ตามเมืองต่างๆตั้งแต่ปายถึงแม่สะเรียง สำนักงานใหญ่ของบริษัทอยู่ที่แม่ฮ่องสอนและเมืองยวม(ได้รับการเปลี่ยนชื่อ เป็นแม่สะเรียงเมื่อพ.ศ. 2467) ที่แม่ฮ่องสอนนั้นนายฝรั่งตั้งชุมชนเล็กๆ อยู่ที่บริเวณสำนักงานประปาจังหวัดในปัจจุบัน แต่ก่อนบริเวณนั้นเป็นที่โล่งกว้าง ทางบริษัทได้จัดสร้างบ้านอย่างเป็นสัดส่วน ตรงกลางสร้างเป็นสำนักงานและห้องประชุม เล่ากันว่านายห้างฝรั่งจะไปตีกอล์ฟกันที่สนามบินในปัจจุบันหรือบางครั้งก็ เล่นฟุตบอล ชาวแม่ฮ่องสอนได้ลงเล่นด้วยจนเชี่ยวชาญหลายคน ต่อมาเมื่อบริษัทเลิกทำไม้ ยกสำนักงานให้ทางรัฐบาลทำเป็นศาลากลางอยู่ระยะหนึ่ง บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าเข้ามาทำไม้จนหมดสัมปทานสุดท้าย คือป่าฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยวม ในพ.ศ. 2472 จากนั้นป่าทั้งหมดก็ปิดไปชั่วคราว แต่ทางการได้อนุญาตให้พ่อค้าไม้ท้องถิ่นรายย่อยเข้ามาทำไม้ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม้ที่ไม่ได้ขนาด(ไม้แป่) ซึ่งเป็นไม้ตกค้างจากการทำของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (แสงสุรีย์ ลดาวัลย์ 2545 : 98-99)

เศรษฐีค้าไม้

การค้าไม้ในแม่ฮ่องสอนในสมัยนั้น มีชาวไทใหญ่ประกอบธุรกิจการค้าไม้และถือได้ว่าเป็นบุคคลที่เชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงในการค้าไม้ คือ

1. นายแวง กวีวัฒน์ (จองอูพะก่าแวง)

จองอูพะก่าแวงได้อพยพมาจากบ้านหาด (ใกล้กับเมืองนาย) ในรัฐฉานประเทศพม่า เดินทางเข้ามาอยู่แม่ฮ่องสอนตั้งแต่อายุยังน้อยคืออายุประมาณ 20 กว่าปี โดยอพยพเข้ามากับพี่สาวมาตั้งรกร้างอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตอนนั้นได้สร้างบ้านหลังเล็ก ๆอยู่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการค้าขายไม้ ต่อมาได้แต่งงานกับแม่จองจิ่ง มีลูกด้วยกัน 4 คน ได้ทำการค้าขายกับประเทศพม่าโดยใช้เรือพายหรือเรือถ่อล่องตามแม่น้ำปายไปจน ถึงแม่น้ำสาละวิน จองอูพะก่าแวงเป็นบุคคลที่มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมสูงกล่าวคือได้ อุทิศพื้นที่สวนของตนเองให้กับชาวบ้านบริเวณบ้านนาบอน (บ้านใหม่ในปัจจุบัน) เพราะว่าส่วนราชการในสมัยนั้นต้องการพื้นที่ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่เดิมสร้าง สนามบิน และมีเรื่องเล่าว่าเมื่อตอนจองอูพะก่าแวงเดินทางไปตรวจดูการทำไม้ที่บ้านใน สอย ได้พักแรมตกกลางคืนฝันเห็นภรรยานำเครื่องไทยทานเตรียมไว้ถวายพระหลายชุด และขอให้จองอูพะก่าแวงสร้างเจดีย์ให้ 1 องค์ บริเวณสวนกล้วยของจองอูพะก่าแวง (จองอูพะก่าแวงมีสวนกล้วยและโรงสีน้ำตั้งอยู่บริเวณที่เป็นบ้านพักของเจ้า หน้าที่ที่อุตุนิยมวิทยาในปัจจุบัน) เมื่อจองอูพะก่าแวงตื่นขึ้นในตอนเช้าก็รีบเดินทางกลับบ้านแล้วเรียกญาติพี่ น้องและช่างมาปรึกษาหารือวางแผนสร้างเจดีย์ขึ้นในบริเวณดังกล่าว (ตรงกับ พ.ศ.2446) แต่ยังไม่มีการสร้างกุฏิศาลาการเปรียญแต่อย่างใด ต่อมามีพระภิกษุชราภาพองค์หนึ่งซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดน้ำพุได้มาขอให้จองอู พะก่าแวงสร้างกุฏิให้ที่บริเวณดังกล่าว เพื่อที่จะได้มาจำพรรษาที่วัดกลางทุ่งแห่งนี้ จองอูพะก่าแวงจึงสร้างวัดให้ตามปรารถนา ต่อมามีการบูรณะขึ้นใหม่เอีกครั้งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 วัดกลางทุ่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ผสมกับไทใหญ่ (วัฒนา กวีวัฒน์ :03/12/2550; กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2526:30 )

2. นายหวุ่นนะ คำนวนตา

เป็นคนแม่ฮ่องสอนโดยกำเนิด เสียชีวิต พ.ศ. 2490 รวมอายุ ได้ 58 ปี มีภรรยาทั้งหมด 2 คน คือภรรยาคนที่ 1 คือนางป้าง (เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2480 ) และภรรยาคนที่ 2 คือนางหนุ่ม คำนวนตา ซึ่งอพยพมาจากพม่า มีบุตรร่วมทั้งหมด 4 คนคือ นางจันทร์เงิน คำนวนตา (ปัจจุบันอยู่เชียงใหม่) นายจรูญ คำนวนตา (ปัจจุบันอยู่แม่ฮ่องสอน) นางอิงภา คำนวนตา( ปัจจุบันอยู่กรุงเทพมหานคร) และนายปริญญา คำนวนตา (ปัจจุบันอยู่กรุงเทพมหานคร) นายหวุ่นนะ คำนวนตา มีอาชีพ ค้าไม้กับรัฐฉานประเทศพม่า ซึ่งในการค้าไม้นี้จะใช้วิธีการล่องไม้ไปตามแม่น้ำปาย และจะนำสินค้าจากประเทศพม่าเข้ามาขายในแม่ฮ่องสอนด้วย เช่น กะปิ น้ำปลา เครื่องใช้ต่างๆ นายหวุ่นนะเป็นเศรษฐีใจบุญผู้หนึ่ง ซึ่งได้ร่วมกับนางมณีเหย่น และจองโพหย่า จองมุ้งอัญเชิญเจ้าพลาละแข่งมาจากพม่าจนได้รับขนานนามว่าจองอูพะก่า หมายถึงเศรษฐีผู้อุปการะแก่วัด (จันทร์เงิน คำนวนตา : 03/01/2551 )

3. นายสุวรรณ พานิชยานนท์ (พ่อเลี้ยงส่างซาน)


นายสุวรรณ พานิชยานนท์ (พ่อเลี้ยงส่างซาน) เป็นชาวแม่ฮ่องสอนโดยกำเนิดเกิดที่อำเภอขุนยวม ศึกษาจนจบชั้นมัธยม เมื่ออายุประมาณ 17-18 ปีได้เข้าทำงานครั้งแรกเป็นเสมียนเจ้าขุนกี่ (เจ้าฟ้าไทใหญ่) ช่วยในกิจการเหมืองแร่และป่าไม้ หลังจากนั้นได้ไปศึกษาเกี่ยวกับภาษาพม่าที่เมืองมะละแหม่ง จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ย้ายกลับมาเมืองไทย มาทำการค้ากับบิดามารดาที่อำเภอขุนยวม ต่อมาได้แต่งงานกับนางยุ้ม และมีบุตรร่วมกัน 5 คน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง นายสุวรรณ พานิชยานนท์ (พ่อเลี้ยงส่างซาน) ได้เข้ามาก่อตั้งกิจการโรงเลื่อยจักรขึ้นที่หมู่บ้านแม่สะกึด ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน(เป็นโรงเลื่อยจักรแห่งแรกในจังหวัดแม่ฮ่องสอน) ได้ดำเนินกิจการมาติดต่อกันมาเป็นเวลา ประมาณ 60 ปี และเมื่อพ.ศ.2515 ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอนติดต่อกัน 2 สมัย ต่อมาเมื่อรัฐบาลได้มีนโยบายปิดป่าประกอบกับนายสุวรรณ พานิชยานนท์ (พ่อเลี้ยงส่างซาน) มีสุขภาพไม่แข็งแรงและลูกหลานไม่สามารถสืบทอดกิจการได้ เพราะต่างมีงานประจำเป็นของตนเองจึงขายกิจการโรงเรื่อยให้กับเจ้าของโรงแรม ที่พัทยา และในปี 2485 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัดแม่ฮ่องสอนอีกครั้งเป็นสมัยที่ 3 และเมื่อปีพ.ศ.2545 ท่านนายสุวรรณ พานิชยานนท์ ได้ถึงแก่กรรม ด้วยอายุ 81 ปี ก่อนเสียชีวิตท่านได้บริจาคร่างกายให้กับโรงพยาบาลสวนดอกเพื่อเป็นวิทยาทาน แก่นักศึกษาแพทย์ และพยาบาล (อัจฉรา สุธัญญาพฤทธิ์ : 6/12/2550)

จำนวนผู้เข้าชม : 7349

กลับหน้าหลัก ฐานข้อมูล