พื้นที่ลุ่มน้ำแม่สะงี
พื้นที่ลุ่มน้ำแม่สะงา
พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ฮ่องสอน
พื้นที่ลุ่มน้ำแม่สะงี
 
 
ชุมชนแม่คาหาน
 
 
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับชุมชน

๑. ชุมชนบ้านคาหาน


๒. ความหมาย คาหานเป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายต้นปาล์มซึ่งมีจำนวนมากในพื้นที่

บ้านคาหาน โดยเฉพาะบริเวณที่ตั้งหมู่บ้าน จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านคาหาน


๓. จัดตั้งชุมชนเมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๑๗


๔. สถานที่ตั้งชุมชน บ้านคาหาน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็น

หมู่บ้านบริวารของบ้านนาปลาจาด

พิกัด ละติจูต ๑๙ องศา ๓๒ ลิปดา ๕๘๖ ฟิลิปดาเหนือ

พิกัด ลองจิจูต ๐๙๘ องศา ๐๐ ลิปดา ๐๖๔ ฟิลิปดาตะวันออก


๕. ประธานกรรมการชุมชน

นายศรีวรรณ สารวิน

ที่อยู่บ้านเลขที่ ๓๓/ส บ้านคาหาน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ระยะเวลาดำรงตำแหน่งตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๓๕ – ปัจจุบัน


๖. ประวัติชุมชน

เจ้าศึกปานอ่อง เจ้าออหว่า เจ้างาคำ จายฮักเครือ ลุงจายโหย่ง จายทุน จายหนั่นตอ

ลุงส่างขั้ง จายหม่อง และจายทุนภูปี ได้อพยพพาลูกเมียและคนเฒ่าคนแก่ที่อาศัยอยู่ในกองทัพไทใหญ่

มาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน ในปี ๒๕๑๗ จากนั้นก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงได้มีการ

แต่งตั้งผู้นำในหมู่บ้านขึ้นคนแรก คือ นายอ่องเมือง และต่อมานายศรีวรรณ สารวิน เป็นผู้นำในหมู่บ้าน

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕-ปัจจุบัน

แกนนำชุมชนบ้านคาหาน

๑. นายศรีวรรณ สารวิน

๒. นายกษานสน์ ตุ่นปิน

๓. นายออหว่า-

๔. นายคำโหย่ง ปิยชาติธิติกุล

๕. นายเฟื่องฟ้า

๗. ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของชุมชนบ้านคาหาน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัด

แม่ฮ่องสอน อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อาณาเขตบ้านคาหานตั้งอยู่บริเวณที่ราบระหว่าง

หุบเขาตามลำน้ำแม่สะงี มีภูเขาสูงขนาบทั้งสองด้านตามแนวทิศเหนือถึงทิศไต้ พื้นที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์

ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้สัก ไม้แดง ไม้ยาง

ชุมชนบ้านคาหานมีพื้นที่ทำกิน ซึ่งที่ดินที่ใช้ทำการเกษตรนั้น มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม

แม่น้ำและเป็นที่ราบเชิงเขา มีแม่น้ำแม่สะงีเป็นแม่น้ำสายหลักที่ใช้ในการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำนั้น

จะปลูกข้าวในฤดูฝน และปลูกกระเทียมในฤดูหนาว ส่วนที่ราบเชิงเขานั้นจะปลูก ชา ลิ้นจี่ และลำไย

โดยจะอาศัยน้ำฝนในการเกษตร และสามารถทำการเกษตรได้เฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้นเพราะเป็นพื้นที่

ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำแม่สะงี จึงไม่สามารถที่จะผันน้ำขึ้นไปทำการเกษตรได้ พืชที่ปลูกจะมี งา ถั่วเหลือง

และปลูกลิ้นจี่ลำไย ลักษณะของดินบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นดินร่วน เหมาะสมแก่การปลูกข้าวและ

พืชสวน ส่วนดินบริเวณที่ราบเชิงเขานั้นเป็นดินร่วนปน หิน กรวด และทรายเล็กน้อย เหมาะสมกับการ

ปลูกพืชไร่

บ้านคาหานห่างจากตัวเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอนตามระยะของทางหลวงแผ่นดิน ๑๐๙๕

สายเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ถึงแยกบ้านห้วยผึ้ง ระยะทางประมาณ ๒๒ กิโลเมตร แล้วเปลี่ยนมาใช้เส้นทาง

ชนบทหมายเลข ๑๒๘๕ ถึงบ้านคาหาน ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร รวมระยะทาง ๓๕ กิโลเมตร มีพื้นที่

การปกครอง ๓๖ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและหมู่บ้านใกล้เคียง ดังนี้


๘. อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ     ติดต่อกับบ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทิศใต้      ติดต่อกับบ้านนาปลาจาด หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน

ทิศตะวันออก   ติดต่อกับบ้านแม่สุยะ หมู่ที่ ๖ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับบ้านห้วยขาน หมู่ที่ ๔ ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัด

แม่ฮ่องสอน

พื้นที่ ๓๖ ตารางกิโลเมตร

จำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร ๕๐๕ คน ๑๐๓ ครัวเรือน

ประชากร ชาย ๒๗๙ คน หญิง ๒๒๖ คน

อายุชุมชน  ๔๐  ปี

แหล่งน้ำ           ลำน้ำแม่สะงี ประปาหมู่บ้าน และน้ำฝนตามธรรมชาติ

อาชีพ               เกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน รับจ้าง

ชีพเศรษฐกิจ      ข้าว ชา กระเทียม ลิ้นจี่ ลำใย

๙. การเดินทาง

เส้นทางหลวง ๑๐๙๕ เส้นทางจากอำเภอเมือง-อำเภอปาย ระยะทาง ๒๒ กิโลเมตร

เส้นทางชนบท ๑๒๘๕ จากแยกบ้านห้วยผึ้งถึงบ้านคาหาน ระยะทาง ๑๓ กิโลเมตร

ระยะทางจากจังหวัด ๓๕ ก.ม. ใช้เวลาในการเดินทาง ๐.๕๕ ชม.

ระยะทางจากอำเภอเมือง ๓๕ ก.ม. ใช้เวลาในการเดินทาง ๐.๕๕ ชม.


ภาพบรรยากาศการเดินทางสู่ชุมชนบ้านคาหาน




 
 

ฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่ วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2556-2567 © 2013-2024 โดย วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน - www.taiyai.org
วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน เลขที่ 36 ถนน ปางล้อนิคม ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 58000
โทรศัพท์/โทรสาร 053-695438-9