ลืมรหัสผ่าน / สมัครสมาชิก

สถิติวันนี้ 27 คน
สถิติเดือนนี้ 1,288 คน
สถิติปีนี้ 5,632 คน
สถิติทั้งหมด 218,429 คน
ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2554
  • ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ศูนย์ใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
  • ၸုမ်းၾၢႆႇလဵပ်ႈႁဵၼ်းလွင်ႈတႆး ဝိတ်းထယႃးလႆးႀုမ်းႀူၼ်းမႄႈႁွင်ႈသွၼ် ႁူမ်ၸူမ်းႁပ်ႉတွၼ်ႈယူႇၶႃး

กลับหน้าหลัก ฐานข้อมูล

ประวัติชาวไทใหญ่

(02/09/2011 เวลา 11:32:06)

ไทใหญ่ 

ความหมายของชาวไทใหญ่

ชาวไทใหญ่ หรือ ฉาน หรือ ฌาน เป็นกลุ่มชาวไทใหญ่กลุ่มหนึ่งที่อยู่ในเขตพม่า ตอนใต้ของจีน และภาคเหนือของประเทศไทย บางท่านว่า คำว่า ฉาน คือที่มาของคำว่า สยาม ในพม่ามีรัฐใหญ่ของชาวไทใหญ่ ชื่อ รัฐฉาน( SHAN STATE) ชาวไทใหญ่ในพม่า บางกลุ่มต้องการอิสระจากการปกครองของรัฐบาลพม่า จึงจับอาวุธขึ้นต่อสู้ ด้วยความไม่สงบในพม่าทำให้ชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะในระยะหลังเข้ามาทางอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ แต่รัฐยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนกับประชากรเหล่านี้ คือไม่มีการกำหนดให้ไทใหญ่กลุ่มนี้เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในประเทศไทย และไม่ยอมรับให้คนกลุ่มนี้เป็นชาวไทใหญ่ รวมทั้งไม่ยอมรับว่า กลุ่มไทใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยจากรัฐไทใหญ่ที่ต้องช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม เพื่อรอการส่งกลับประเทศเมื่อในประเทศมีความปลอดภัย เมื่อรัฐไม่จัดพื้นที่พักพิงชั่วคราวไว้รองรับที่ชายแดน ทำให้ชาวไทใหญ่จำนวนมากทะลักเข้าสู่ตัวเมืองด้านใน

คำว่า “ ไทใหญ่ “ เป็นชื่อที่ชาวไทใหญ่คุ้นเคยมานาน ควบคู่กับคำที่ชาวไทใหญ่มักขนานนามตนเองว่า “ ไทใหญ่น้อย ” แต่นอกเหนือจากชาวไทใหญ่ในประเทศไทยแล้วไม่มีคน รู้จักคำว่า ไทใหญ่ ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า “ ไทใหญ่ ” ( ออกเสียงว่า ชาวไทใหญ่ ) เช่นเดียว กับชาวไทใหญ่เราเรียกตนเองว่า “ ไทใหญ่ ” ไทใหญ่ที่เรียกตนเองว่า “ ไทใหญ่ “ หรือ “ ชาวไทใหญ่ ” นั้นมีมาก และจะจำแนกกลุ่มด้วยการเพิ่มคำขยายเช่น ไทใหญ่ดำ ไทใหญ่แดง ไทใหญ่ขาว ไทใหญ่ใต้ ไทใหญ่เหนือ เป็นต้น ชาวไทใหญ่เรียกตนเองว่า “ ไทใหญ่ “ แต่ชนชาติอื่นจะเรียกชื่อเราว่า เสียม เซียมหรือสยาม เป็นต้น และเรียกประเทศเราว่าสยาม ชาวไทใหญ่ก็เช่นเดียวกันมีชื่อที่ชนชาติอื่นเรียกแตกต่างกันไป เช่น พม่าเรียกว่า “ ชาน ” หรือ “ ฉาน “ ซึ่งเป็นต้นเค้าให้ชาวตะวันตกเรียกชาวไทใหญ่ ในขณะที่ชาวคะฉิ่น หรือจิ่งโพเรียกว่า “ อะซาม ” ชาวอาชาง ชาวปะหล่อง และชาวว้าเรียกว่า “ เซียม ” คำทั้งหมดนี้มาจากรากเหง้าของคำเดิมคือ “ สยาม ” สาม หรือ “ ซาม ” ทั้งสิ้น ส่วนชาวจีนฮั่นมีวิธีเรียกชาวไทใหญ่ที่แตกต่างออกไป คือ ใช้คำที่แสดงลักษณะของชนชาติ มาขนานนาม เช่น เรียกว่า พวกเสื้อขาว (ป๋ายยี) พวกฟันทอง( จินฉื่อ ) พวกฟันเงิน (หยินฉื่อ ) พวกฟันดำ (เฮยฉื่อ) และยังมี ชื่ออื่นๆ เช่น เหลียว หลาว หมางหมาน พวกเยว่ร้อยเผ่า และหยี เป็นต้น จีนจะมีการเรียกชื่อชาวไทใหญ่เปลี่ยน แปลงไปตามระยะเวลาทางประวัติศาสตร์

ในกลุ่มของไทใหญ่ก็มีชื่อเรียกออก เป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกหลายกลุ่มตามถิ่นที่อยู่ เช่น ชาว ไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพม่า มักเรียกชาวไทใหญ่ที่อยู่ในเขตประเทศจีนว่าเป็นไทใหญ่แข่หรือไทใหญ่จีน เพราะพวกเขาสามารถพูดภาษาจีนได้และรับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมจีนหลายอย่าง ตั้งแต่ภาษา วิธีการกินอาหารด้วยตะเกียบ การตั้งบ้านเรือนแบบติดพื้นและขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น ในขณะที่ ชาวไทใหญ่ในจีนมักจะเรียกตนเองว่าเป็นไทใหญ่เหนือด้วยถือว่าตน อยู่ทางเหนือของแม่น้ำคง (สาขาของแม่น้ำสาละวิน) และจะเรียกชาวไทใหญ่ในพม่า ว่าเป็นไทใหญ่ใต้

ความแตกต่างระหว่างไทใหญ่เหนือ-ไทใหญ่ใต้

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างไทใหญ่เหนือกับไทใหญ่ ใต้นอกจากภาษาและวัฒนธรรมหลายอย่างที่ได้รับอิทธิพลจากจีนคือเครื่องแต่งกาย ของผู้หญิงที่มี ลักษณะแตกต่างในแง่ของสีสัน รูปทรง และความหนาบางของเนื้อผ้า ชาวไทใหญ่ใต้ไม่นิยมโพกผ้านัก ในขณะที่ชาวไทใหญ่เหนือโพกผ้าด้วยสีขาวหรือสีดำหรือใช้หมวกทรง กระบอกสีดำ สูงราว 4- 6 นิ้ว หากเป็นหญิงสาวไม่แต่งงานชาวไทใหญ่เหนือมักนุ่ง กางเกงสีดำ และถักผมคาดรอบศีรษะ ประดับด้วยดอกไม้ แต่สาวชาวไทใหญ่มาว หรือไทใหญ่ใต้นุ่งซิ่นไม่คาดผม นอกจากนี้ยังมีวิธีเรียกชื่อออกเป็นกลุ่มตามชื่อเมือง เช่น ชาวไทใหญ่เมืองมาวจะถูกเรียกว่าเป็นชาวไทใหญ่มาว หากเป็นเมืองอื่นๆ จะเรียกว่าเป็น ไทใหญ่เมืองวัน ไทใหญ่เมืองขอน ไทใหญ่เมืองหล้า เป็นต้น

แต่บางเมืองที่ไม่ใช่ชาวไทใหญ่ แต่ก็ได้รับเรียกชื่อว่าเป็นชาวไทใหญ่ด้วยเช่นเดียวกันเพราะได้ติดต่อกับชาว ไทใหญ่มานานจนพูดภาษาไทใหญ่ได้และรับอิทธิพลพุทธศาสนาเช่นเดียวกับชาวไทใหญ่ เช่น ไทใหญ่เมืองสา ซึ่งเป็นชาวอาชาง ชาวไทใหญ่จะเรียกว่า ไทใหญ่สาหรือไทใหญ่ดอย หมายถึง ชาวตะอางหรือเต๋ออ๋าง เป็นต้น ชาวจีนฮั่นมักเรียกชาวไทใหญ่เหนือว่าเป็นไทใหญ่นา หรือไทใหญ่บก ซึ่งจะตรงข้ามกับไทใหญ่น้ำ (สุยไต่ ) ซึ่งหมายถึงชาวไทใหญ่ในพม่า ( บางครั้งก็หมายถึงชาวไทใหญ่ลื้อด้วย ) และเรียกชาวไทใหญ่เขต หลินซาง กึ๋งม้า เมืองติ่ง ว่าเป็นพวกไทใหญ่ป่อง ในภาคเหนือของพม่า ยังมีชาวไทใหญ่คำตี่ ที่ยังคงใช้ช้างไถนา ส่วนในรัฐอัสสัมมีชาวไทใหญ่อาหม ไทใหญ่พ่าเก ไทใหญ่คำยัง ไทใหญ่โนรา ไทใหญ่อายตอน ไทใหญ่ตุรุง เป็นต้น ชาวไทใหญ่เหล่านี้สามารถจัดอยู่ในกลุ่มชาวไทใหญ่ ด้วยภาษาและวัฒนธรรม ใกล้เคียงกันมาก ชาวไทใหญ่ส่วนมากทั้งในประเทศพม่า อินเดีย จีน และไทใหญ่นับถือพุทธศาสนามีอักษรเพื่อบันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนาไม่ว่าจะ เป็นคัมภีร์พุทธศาสนาชาดก นิทาน ฯลฯ เรามักเรียกอักษรเหล่านี้ว่าอักษรไทใหญ่ แต่ชาวไทใหญ่มีชื่อเรียกอักษรของเขาเองแตกต่างออกไป คือ หากเป็นอักษรไทใหญ่ที่ใช้ในเขตจังหวัดใต้คง เป่าซาน หลินซาง และซือเหมา จะเรียกว่า ตัวถั่วงอก หรือลิ่กถั่วงอก ด้วยรูปร่างของตัวอักษรที่เขียนด้วยก้านผักกูดหรือพู่กันจีนมีลักษณะยาว สูง ในขณะที่หากเป็นอักษรไทใหญ่ที่ใช้ในพม่าจะเรียกว่า ตัวมน หรือ ตัวไทใหญ่ป่อง ด้วยมีรูปร่างกลมเช่นอักษรพม่า อักษรไทใหญ่ใหญ่จะมีรูปร่างต่างกันไปอีก กลายเป็น อักษรอาหม อักษรไทใหญ่พ่าเกและอักษรไทใหญ่คำคี่ เป็นต้น แต่ลักษณะพื้นฐานส่วนใหญ่จะเหมือนกันคือ มีจำนวนพยัญชนะ และสระใกล้เคียงกัน และไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์มาแต่เดิม หากมีแต่การเพิ่มเติมรูปพยัญชนะและวรรณยุกต์ภายหลัง พยัญชนะส่วนใหญ่มีเพียง 16 – 19 รูป และรูปวรรณยุกต์ 4 -5 รูป

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

การศึกษาชาวไทใหญ่ตั้งแต่ปลายคริ สศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนมากเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะประวัติศาสตร์โบราณ เห็นได้จากงานของ Ney Elias (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 2) ซึ่งพยายามอธิบายประวัติศาสตร์ไทใหญ่จากตำนานของเมืองสำคัญ เช่น ตำนานเมืองเมา เมืองแสนหวี และเมืองปง นอกจากนั้นก็มีงานของ Hallet และ Parker (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 2) งานเหล่านี้พยายามจะอธิบายการตั้งอาณาจักรเมาตามตำนาน ในราวต้นคริสศตวรรษที่ 5 จนถึงการพยายามการขยายดินแดนไปสู่เมืองไทใหญ่ต่างๆ ในคริสศตวรรษที่ 13 ตลอดจนความสัมพันธ์กับจีนและพม่า

แต่งานเหล่านี้มีปัญหาเรื่องการกำหนดศักราชและสับสน เรื่องที่ตั้งของเมืองต่างๆ ซึ่งปัญหาในเรื่องนี้ก็ยังคงดำรงอยู่ เพราะเกิดจากความไม่ชัดเจนในการตีความของตำนาน ดังปรากฏในงานของ Zhu Chang li (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป:3) ตำนานเก่าที่ชาวอังกฤษค้นพบก่อนคือ ตำนานเมืองปง ซึ่ง Pemberton พบในเมืองยะไข่ราวปี ค.ศ. 1830 ( Mangrai 1965: 27) (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป: 3)นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะเห็นพ้องกันว่า คือ เมืองเมา ซึ่งเป็นอาณาจักรสำคัญของ ไทใหญ่ตั้งแต่ประมาณต้นคริสศตวรรษ โดยมีผู้นำคือ ขุนไล

ตามตำนานอาณาจักรเมาได้ขยายตัวมาจากคริสศตวรรษที่ 6 จนถึงคริสศตวรรษที่ 11 จึงหยุดลง เพราะกษัตริย์พม่าชื่อ “อโนราธา” ตั้งเมืองพุกามได้ทำให้ปิดกั้นทางขยายดินแดนลงใต้ และในที่สุดพระเจ้าอโนราธารับเจ้าหญิงเมาเป็นเครื่องแสดงการยอมรับอำนาจของ เมืองพุกามในปี ค.ศ. 1057 อย่างไรก็ตามอาณาจักรเมาได้ขยายดินแดนอย่างกว้างขวาง ตำนานแสนหวีได้กล่าวถึงการขยายตัวของอาณาจักรภายใต้เจ้าเสือข่านฟ้า (1152-1205) ไปสู่อาณาจักรของคนไทต่างๆ จะกล่าวถึงอัสสัม ตลอดจนโจมตีจีนและพุกาม การเสนอภาพเช่นนี้ Wyatt ชี้ว่า คนไทมีความสัมพันธ์กันเช่นเดียวกับที่ปรากฏในตำนานของคนไทในที่อื่นๆ เช่น ตำนานพระยาเจือง ของล้านนา

ปัญหาความสับสนที่สำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โบราณของ ไทใหญ่ก็คือ การตีความว่า น่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไท โดยเริ่มจากงานของ Laconperie (อ้างในอานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 3) ที่เชื่อมโยงตระกูลผู้ปกครองของน่านเจ้าว่ามาจากเชื้อสายของชาวอ้ายลาว ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในยูนนานตอนใต้ในสมัยราชวงศ์ฮั่น และคิดว่าชนกลุ่มนี้เป็นต้นตระกูลของคนไท และโยงคำว่า เจ้า ในชื่ออาณาจักรว่าเป็นภาษาไท ความเข้าใจผิดดังกล่าวมีอิทธิพลต่อผู้ศึกษารุ่นต่อมาอย่างมาก จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปมานาน แม้ในปัจจุบันก็ยังมีผู้เชื่อเช่นนั้นอยู่ เช่นงานของ Sao Simong

Margrai (1965) และ Tzang Yawnghwe (1987) แต่มีผู้ที่ปฏิเสธความเชื่อนี้คือ Backus (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 3) โดยแสดงหลักฐานว่ากลุ่มผู้นำน่านเจ้าพูดภาษาตระกูล ธิเบต-พม่า คือ โลโล และมีวัฒนธรรมระบบการตั้งชื่อที่ยึดชื่อท้ายของบรรพบุรุษมาเป็นชื่อต้นของ ลูก ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มที่พูดภาษาโลโล ไม่ใช่ของวัฒนธรรมไท

Leach เองก็เชื่อว่าน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไท แต่ได้สนใจศึกษาเอกสารจีนทำให้เขาตั้งสมมุติฐานว่า การตั้งเมืองของไทใหญ่ยุคต้นนั้น เป็นการรองรับเส้นทางค้าจากจีนไปอินเดีย เนื่องจากแนวที่ตั้งของชาว ไทใหญ่อยู่บนเส้นทางการค้าหลัก การขยายตัวของไทใหญ่จึงเป็นการพยายามรักษาเส้นทางการค้า ซึ่งมีการตั้งด่านและป้อมค่ายขึ้นจนทำให้เกิดเป็นรัฐย่อยๆขึ้น (อ้างในอานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 3) แต่ก็ไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจนว่า ทำไมไทใหญ่จึงได้ขยายเข้าไปในแคว้นอัสสัม และตั้งอาณาจักรไทอาหมขึ้นในช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 13

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทใหญ่อย่างเป็นระบบ และค้นคว้าจากเอกสารหลายแหล่งเริ่มจากการศึกษาของ G.H. Luce (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 4) ซึ่งอาศัยเอกสารจีนเป็นหลักทำให้ได้และรายละเอียดที่ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการที่ไทใหญ่เข้าไปมีบทบาทในประวัติศาสตร์พม่า หลังจากที่ชาวมองโกลตีเมืองพุกามได้ในปี ค.ศ. 1287 เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดทางให้ชาวไทใหญ่สามารถขยายตัวในแถบที่ราบลุ่มจ๊กเซ ซึ่งถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของพม่า ในช่วงนี้มีพี่น้องไทใหญ่ 3 คน เป็นผู้นำยึดพุกามและต่อสู้กับจีน แต่ในที่สุดก็ส่งบรรณาการให้จีน และหลังจากปราบปรามเมืองต่างๆได้ ก็ย้ายเมืองหลวงมาตั้งที่อังวะราวปี ค.ศ. 1364

Luce ได้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ชาวไทใหญ่จะปกครองเมืองพม่า ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังเป็นพม่า แต่ผู้นำไทใหญ่ก็ยอมรับวัฒนธรรมพม่า และใช้ภาษาพม่าเขียนจารึก ประวัติศาสตร์ในช่วง คริสศควรรษที่ 15 เต็มไปด้วยสงครามแย่งชิงเมืองต่างๆของพม่าและไทใหญ่ ขณะเดียวกันก็ปรากฏว่ามีการพยายามสร้างพันธมิตรด้วยการแต่งงานระหว่างเจ้า ด้วยกันเอง อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดเมือง

อังวะก็ถูกเจ้าไทใหญ่ด้วยกันเองจาก เมืองยางบุกทำลายในปี ค.ศ. 1527 ปรากฏว่ามีการทำลายวัดและประหารพระภิกษุในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์นี้แสดงว่าชาวไทใหญ่ตอนเหนือยังไม่ได้นับถือพุทธศาสนาในช่วงนั้น ขณะที่ชาวไทใหญ่ตอนใต้รับอิทธิพลพุทธศาสนาจากพม่าแล้ว Leach เองก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่าชาวไทใหญ่ตอนเหนือเพิ่งเริ่มนับถือพุทธศาสนาในคริ สศตวรรษที่ 16 นี้เอง ในเรื่องนี้จึงมีประเด็นคำถามสำหรับการวิจัยที่น่าสนใจต่อไปว่า ชาวไทใหญ่ตอนเหนือมีความเชื่ออย่างไร เพราะรับพุทธศาสนาช้ากว่าทางตอนใต้มาก ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบกับความเชื่อของชาวไทดำในเวียดนาม ซึ่งไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา(อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 4)

รัฐไทใหญ่ทางตอนเหนือ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในประเทศจีนปัจจุบัน มีปรากฏอยู่ในเอกสารจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1276 เช่น กรณีของเมืองขอน นักมานุษยวิทยาชาวจีน T'ien Ju-k'ang ซึ่งได้เข้าไปศึกษาหมู่บ้านที่เมืองขอนในปี ค.ศ. 1940 ได้อ้างหลักฐานจีน แสดงให้เห็นว่า เมืองขอนมีตระกูลเจ้าที่ปกครองและสืบตระกูลอย่างต่อเนื่องและเป็นเวลากว่า 500 ปี จนถึงปีที่เขาเข้าไปวิจัย แต่ก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลสลับกันไปมาระหว่างพม่าและจีนตลอดเวลา ในปี ค.ศ. 1442 จีนยกย่องเจ้าเมืองขอนที่ช่วยรบพม่า แต่ในปี ค.ศ. 1583 เจ้าเมืองขอนก็ถูกจีนประหารชีวิตโทษฐานที่ไปช่วยพม่ารบกับจีน ( T'ien Ju-k'ang ) (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 4)

ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ช่วงหลังคริสศตวรรษที่ 16 จนถึง 18 มีแต่เพียงการศึกษาอย่างคร่าวๆ ทำนองเล่าพงศาวดารมากกว่าการวิเคราะห์ถึงพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม ดัวยปรากฏในงานของ Harvey , Cochrane และ Mangrai (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 5) ในช่วงนี้เมืองของชาวไทใหญ่ส่วนมากตกอยู่ใต้อิทธิพลของพม่า เพราะเจ้าไทใหญ่ทำสงครามรบพุ่งกันเอง จนในที่สุดพม่าภายใต้การนำของพระเจ้าบุเรงนองสามารถกลับมายึดอังวะได้ในปี ค.ศ. 1555 หลังจากไปชุมนุมสร้างกำลังพลอยู่ที่เมืองตองอูอยู่นาน ต่อมาพม่าก็ได้ทำสงครามยึดเมืองไทใหญ่ต่างๆบังคับให้ส่งบรรณาการ ในช่วงนี้เองพม่าได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แก่ชาว ไทใหญ่ตอนเหนือ เพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยว จนทำให้เจ้าไทใหญ่ยอมรับพม่าและร่วมกับพม่าในการทำสงครามหลายครั้ง เช่น การทำ

สงครามกับอยุธยา และจีน ตลอดจนร่วมกับพม่ารบกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1824 นอกจากนั้นก็มีการแต่งงานกันในหมู่เจ้าไทใหญ่และพม่า ดังจะเห็นได้ว่า ในกรณีของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์พระองศ์สุดท้ายของพม่าก็ถือได้ว่าเป็นลูกครึ่งไทใหญ่ อย่างไรก็ตามเมืองไทใหญ่บางเมืองก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลจีน เช่น เมืองเมาถูกจีนยึดได้ในปี ค.ศ. 1604 ขณะที่บางเมืองก็สามารถมีอิทธิพลอยู่ได้ เช่น เมืองแสนหวี

ในคริตศตวรรษที่ 19 Leach ซึ่งศึกษาเอกสารอังกฤษเป็นหลัก พบว่าอำนาจทางทหารของชาวไทใหญ่ถูกพม่าทำลายลงอย่างสิ้นเชิง แต่กระนั้นเจ้าไทใหญ่ก็ยังต่อสู้กันเอง โดยการจ้างทหารคะฉิ่นมารบให้ ส่วนเมืองไทใหญ่ตอนเหนือที่อยู่ห่างไกลอำนาจของพม่า เช่น เมืองของไทดำที่ปูเตา และในอัสสัม ยังคงมีอิสระ ขณะที่เมืองในแถบที่ราบหูกองตกอยู่ใต้อิทธิพลของคะฉิ่น ในช่วงนี้การค้าระหว่างเมืองบาโมและแสนหวีกับจีนรุ่งเรืองมาก ก่อนที่อังกฤษจะผนวกพม่าตอนบนได้ในปี ค.ศ. 1885 ชาวไทใหญ่ที่มีเชื้อสายพม่า ชื่อ เมืองชเวลี ได้กบฏต่อพม่าเพื่อตั้งเมืองก๋องเป็นอิสระในปี ค.ศ. 1883 โดยอ้างว่าสืบเชื้อสายจากเจ้าฟ้าเมืองก๋อง การปราบปรามของพม่าได้ทำลายหมู่บ้านไทใหญ่แถบเมืองก๋องและมัสยิดจินาจำนวน มาก ซึ่งมีผลให้เกิดจลาจลขึ้นทั่วไป (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 5) เอกสารอังกฤษส่วนใหญ่พยายามจะให้ภาพสังคมไทใหญ่วุ่นวาย เพื่อสร้างความชอบธรรมกับการผนวกดินแดน ช่วยให้เกิดความสงบขึ้นได้ แต่หากว่าสังคมไทใหญ่มีความวุ่นวายจริง ก็ยังไม่มีคำอธิบายว่า แล้วเกิดความต่อเนื่องทางสังคมได้อย่างไร เพราะปรากฏว่ามีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาในดินแดนไทแถบแม่ฮ่องสอนอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญจะอธิบายอย่างไร ถึงบทบาทของพ่อค้าวัวต่างชาวไทใหญ่ ซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างรัฐไทใหญ่และล้านนาใน ช่วงคริสศตวรรษที่ 19-20

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทใหญ่ในระยะหลัง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 จนถึงปัจจุบัน มักจะเน้นช่วง คริสศตวรรษที่ 19-20 จากการศึกษาเอกสารของอังกฤษและบันทึกความจำของชาวไทใหญ่ งานสำคัญในช่วงนี้คือ งานของ Saimong Mangrai , Aye Kyaw และ Robert Taylor Yawnghwe (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 6) ซึ่งเป็นลูกชายของประธานาธิบดีคนแรกของพม่า การศึกษา
ส่วนใหญ่จะเน้นที่นโยบายของอังกฤษที่มีผลต่อรัฐไทใหญ่ ในระยะแรกหลังจากที่อังกฤษผนวกดินแดนแล้ว จะปล่อยให้เจ้าไทใหญ่ปกครองหากไม่กระทบต่อความมั่นคง แต่หลังจากปี ค.ศ.1920 ตำแหน่งเจ้าถูกลดความสำคัญลง อังกฤษมีอัคติต่อเจ้าไทใหญ่ว่าไม่รู้จักการปกครอง จึงจัดการปฏิรูปที่ทำให้ข้าหลวงอังกฤษมีบทบาทมากขึ้น แต่มีความมุ่งหมายเพื่อการควบคุมเจ้ามากกว่าการมองเห็นว่าไทใหญ่มีเอกภาพ เพราะอังกฤษมีความคิดตลอดเวลาว่า ไทใหญ่เป็นรัฐย่อยๆ ทัศนะดังกล่าวมีผลต่อสถานภาพของชาวไทใหญ่หลังจากพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ทำให้ไทใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองของพม่าเท่าที่ควร

การผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์

จากการศึกษาประวัติ ศาสตร์ชี้ชัดว่า ดินแดนของชาวไทใหญ่ตกอยู่ท่ามกลางอำนาจรัฐขนาดใหญ่ คือ จีน พม่าและไทย ซึ่งผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอิทธิพลเหนือเจ้าไทใหญ่ แต่กระนั้นรัฐไทใหญ่ทั้งหลายก็สามารถอยู่อย่างมีอิสระได้บ้างเป็นบางคราว เมื่ออำนาจรัฐขนาดใหญ่อ่อนแอลง ในสภาพดังกล่าวทำให้ที่ตั้งถิ่นฐานของชาวไทใหญ่มีลักษณะเหมือนกัน เมืองชายแดนหรือรัฐชายขอบดินแดนเช่นนี้มักจะมีความหลากหลาย ของชาติพันธุ์ต่างๆมากมาย มาอาศัยอยู่รวมกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การศึกษาชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่งอย่างโดดเดี่ยว หรือการพยายามค้นหาลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางสังคม เพราะลักษณะทางชาติพันธุ์จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และมักจะมีความสลับซับซ้อนอย่างมาก สืบเนื่องมาจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม ดังนั้นการค้นหาลักษณะดั้งเดิมของไทจากชาวไทใหญ่ จึงไม่ใช่แนวทางที่จะเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ แต่น่าจะศึกษากระบวนการผสมผสานทางชาติพันธุ์มากกว่า

ประเด็นการศึกษาทำนองนี้ปรากฏว่า มีการอภิปราบอย่างน่าสนใจในงานของ Edmund Leach (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 7) เรื่อง Political of Highland Burma ซึ่งได้มาศึกษาดินแดนที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวไทใหญ่แม้ว่า Leach จะให้ความสำคัญกับการวิจัยสนามทางมานุษยวิทยา แต่ก็ได้เดินทางท่องไปในดินแดนแถบนั้นอย่างกว้างขวาง ตลอดจนศึกษาเอกสารและ บันทึกทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก ทำให้ค้นพบกระบวนการทางสังคม ที่ถือกันว่าเป็นจุดเปลี่ยนทางทฤษฎีของสำนักโครงสร้างและหน้าที่เลยทีเดียว นอกจากนั้นยังให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับการผสมผสานทางชาติพันธุ์ของกลุ่มคน ต่างๆในที่สูง ซึ่งช่วยบุกเบิกการศึกษาที่สูงในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถือได้ว่าเป็นงานทางมานุษยวิทยาที่สำคัญที่สุดเล่มหนึ่ง

Leach มีสมมุติฐานว่าลักษณะทาง ชาติพันธุ์เป็นสถานะภาพทางสังคมภายใต้ระบบนิเวศแบบหนึ่ง มากว่าผูกติดอยู่กับภาษาพูด ดังนั้นคนที่เรียกตัวเองว่าคนไทอาจจะพูดหลายภาษา แต่เห็นได้ชัดว่าต้องนับถือพุทธศาสนา ทำนาดำในที่ราบลุ่มน้ำ และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมของรัฐไทใหญ่ หากเข้าเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่งเท่านั้นยังไม่ถือว่าเป็นชาติพันธุ์เดียว กัน และมีระบบสังคมแบบไทใหญ่ แต่ปลูกชาและอาศัยอยู่บนเขา นอกจากนั้น Leach คนหนึ่งอาจจะมีสถานะภาพทางสังคมได้หลายอย่างในขณะเดียวกัน

จากแนวคิดดังกล่าว Leach ได้นำมาอธิบายการผสมผสานและการเปลี่ยนแปลงชาติพันธุ์ระหว่างชาวไทใหญ่ และคะฉิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงและพูดภาษาแตกต่างกันหลายภาษา Leach พบว่ามีการแต่งงานระหว่างหัวหน้าชาวคะฉิ่นกับผู้หญิงไทใหญ่ที่เจ้าไทใหญ่ยก ให้แต่การผสมผสานเช่นนี้ไม่ได้ทำให้หัวหน้าชาวคะฉิ่นกลายเป็นไทใหญ่ ผู้นำคะฉิ่นที่มีสถานะภาพนี้มักจะมีอำนาจมาก และสามารถควบคุมที่ราบทำนาดำด้วย โดยมีทาสชาวไทใหญ่ช่วยทำนา ลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้จะจำกัดอยู่ในวงของเจ้าไทใหญ่และหัวหน้าชาวคะฉิ่น

ส่วนกรณีสามัญชนชาวคะฉิ่นสามารถกลายเป็นไทใหญ่ได้อย่าง สมบูรณ์ โดยมีรูปแบบความสัมพันธ์อีกลักษณะหนึ่ง ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ชาวคะฉิ่นเข้ามาเป็นแรงงานให้กับชาว ไทใหญ่และได้แต่งงานกับผู้หญิงชาวไทใหญ่เป็นการตอบแทน พวกนี้จะลงหลักปักฐานในที่ราบ แยกตัวจากญาติพี่น้องและหันมานับถือผีของเมียกลายเป็นพุทธศาสนิกชน ในสายตาของชาวคะฉิ่นอาจแต่งงานกับชายไทใหญ่และกลายเป็นชาวไทใหญ่ได้เช่นกัน แต่ผู้หญิงเหล่านี้ก็จะถูกตัดขาดจากญาติพี่น้องบนที่สูง ในทางตรงกันข้ามไม่ปรากฏกว่าสามัญชนชาวไทใหญ่ถูกกลืนกลับกลายเป็นคะฉิ่น

ด้วยเหตุนี้เอง Leach จึงมีความเห็นว่ากลุ่มภาษาจะบ่งบอกลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่าชี้ ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ และเขาไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดที่นิยมกันว่า กลุ่มชาติพันธุ์คือผู้คนที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน พูดภาษาเดียวกันและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเดียวกัน เพราะข้อมูลในดินแดนคะฉิ่นและไทใหญ่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดเช่นนั้น เขาเห็นว่ากลุ่มชาติพันธุ์เป็นหน่วยงานทางสังคมที่แสดงความแตกต่างทางโครง สร้างแยกจากสังคมอื่น Leach พยายามตอกย้ำความคิดของเขาในบทความเรื่อง “The Frontiers of Burma” (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 8) ซึ่งเขาได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในดินแดนชายขอบ ที่ประกอบไปด้วยชุมชนในที่สูงและหุบเขา สังคมทั้งสองแบบเป็นวิถีการดำรงชีพและระบบสังคมที่ตรงข้ามกัน ระบบในที่สูงได้รับอิทธิพลจากจีนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าของ จีน มีระบบความสัมพันธ์ทางสังคมที่กำหนดไว้ชัดเจนในจารีตของเครือญาติ ขณะที่ระบบในหุบเขาของไทใหญ่ได้อิทธิพลจากอินเดีย รัฐไม่มีพรมแดนชัดเจน ระบบความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับอำนาจของ เจ้าความสัมพันธ์ระหว่างสองระบบนี้มีทั้งการขัดแย้งและพึ่งพากัน กล่าวคือเจ้าในหุบเขาอาจจะปกครองที่สูง แต่กลุ่มในที่สูงก็อาจจะยอมรับเจ้าหลายคน หรือมีการยอมรับอำนาจของกันและกัน คนในที่สูงอาจจะรับเอารูปแบบทางสังคมของคนในหุบเขามาใช้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเปลี่ยนมาคนในที่ราบตราบใดที่เขายังอยู่ในที่สูง

งานของ Leach มีอิทธิพลต่อการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในระยะต่อมาอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากงานของ Lehman และงานของ Keyes (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 8) ซึ่งเสนอให้แยกความสัมพันธ์ทางภาษาออกจากความจริงทางสังคม แต่ดูเหมือนว่า Geham Wijeyewardene (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 8) จะแย้งแนวคิดเช่นนี้ โดยเขายังคงให้ความสำคัญกับการสืบทอดลักษณะดั้งเดิมทางภาษาอยู่ และให้ตัวอย่างของม้งในไทยว่า แม้จะลงมาอยู่ในที่ราบก็ไม่ได้กลายเป็น ไทย ขณะเดียวกันเขาก็คิดว่าลักษณะดั้งเดิมของภาษาจะเป็นบรรทัดฐานให้สร้างความ รู้สึกเป็นชาติพันธุ์ใหม่ ( ethnogenesis ) ส่วน Nicholas Tapp (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 8) เห็นว่า ชาติพันธุ์เป็นสำนึกทางประวัติศาสตร์เพราะเป็นการสร้างความคิดบนพื้นฐานของ ความแตกต่างทางโครงสร้างที่ใช้ในการจำนวนกลุ่มที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตาม เงื่อนไขของเวลาและพื้นที่ มักจะปรากฏในรูปของปรัมปรานิยาย ความคิดเกี่ยวกับชาติพันธุ์นี้มีลักษณะเคลื่อนไหว จึงมีประโยชน์ในการอธิบายกระบวนการผลิตใหม่ทางชาติพันธุ์

แนวความคิดเหล่านี้มีความสำคัญมากต่อการศึกษากลุ่ม ชาติพันธุ์ เพราะจะขจัดความสับสนระหว่างลักษณะชาติพันธุ์ที่มีความต่อเนื่องทางประวัติ ศาสตร์ กับลักษณะที่ผสมผสานขึ้นมาเป็นสำนึกทางชาติพันธุ์ ซึ่งเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การศึกษาของฉลาดชายและคณะเกี่ยวกับชาว ไทใหญ่ที่เชียงใหม่ได้บ่งบอกว่า ชาวบ้านใหม่หมอกจ๋ามกำลังสร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ขึ้น โดยอาศัยพิธีไหว้ครูหมอไตเป็นจุดศูนย์รวม ทั้งๆที่ชาวบ้านเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากดินแดนต่างๆในพม่า ซึ่งมีภาษาพูดแตกต่างกันมาก ฉัตรทิพย์และคณะก็ได้รายงานปรากฏการณ์ทำนองเดียวกันนี้ว่ากำลังเกิดในแคว้น อัสสัม ที่ไทอาหม และไทใหญ่กลุ่มต่างๆ พยายามสร้างสำนึกความเป็นไท โดยมีพิธีไหว้ ผีถ้ำเป็นสื่ออย่างหนึ่ง เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง ในพม่าเองก็กำลังเกิดการสร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ไทใหญ่เช่นกัน

ความต่อเนื่องและพลังทางสังคมและวัฒนธรรม

แม้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับไทใหญ่จะมีไม่ มากนัก เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆแต่ปรากฏว่ามีเอกสารของอังกฤษ ที่เขียนในลักษณะชาติพันธุ์วรรณามากมาย ทั้งที่เป็นรายงานทางราชการ และบทความย่อยๆส่วนงานที่ถือว่าเป็นขุมความรู้มหาศาลและจัดไว้เป็นหมวดหมู่ อย่างดีก็คือ งานของ James Scott and John Hardiman (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 9) ชื่อ Gazatteer of Upper Burma and the shan states หนังสือของ Leslie Milne (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 9) ชื่อ Shan at Home ก็ถือเป็นงานชาติพันธุ์วรรณาเกี่ยวกับไทใหญ่ที่เมืองน้ำคำ ที่ครอบคลุมเรื่องราวด้านสังคมและวัฒนธรรมทุกด้าน ในการวิจัยเพื่อทำปริญญา B. Litt ของพัทยาสายหู (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 9) ชื่อ The shan of Burma : An Ethnographic Survey ได้ใช้ข้อมูลพื้นฐานจากหนังสือเล่มนี้ งานวิจัยของพัทยาเป็นงานของคนไทยเกี่ยวกับไทใหญ่ที่สำคัญ เพราะเขียนหลังจากงานของ Leach มีกี่ปี ได้อธิบายที่ต่อเนื่องและสถาบันทางสังคมไว้อย่างละเอียด ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำความเข้าใจถึงพลังทางสังคมและวัฒนธรรมของ ไทใหญ่ แต่น่าเสียดายที่งานนี้ถูกหลงลืมและมีผู้รู้จักน้อย

บริเวณที่ถือว่าเป็นอู่อารยะธรรมของไทใหญ่คือลุ่มน้ำเมา นี้ ในช่วงเวลาประมาณปี ค.ศ. 1940 มีงานวิจัยสนามทางมานุษยวิทยาที่มีอิทธิพลอย่างมากทั้งในแง่ทฤษฎีและเนื้อหา คืองานของ Leach ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสังคม และงานของ T'ien Ju-K'ang ซึ่งศึกษาหมู่บ้านไทใหญ่ที่เมืองขอน หลังจากนั้นก็มีงานวิจัยสนามอีก จนกระทั่งนักมานุษยวิทยาชาวจีนชื่อ Leshan Tan เข้าไปศึกษาหมู่บ้านแถบใต้คงในช่วงปี ค.ศ. 1990 หลังจากที่เคยอยู่หมู่บ้านขณะเป็นนักศึกษาในโครงการส่งนักศึกษาออกชนบทช่วง ปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน ในระหว่างนั้น นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันหันมาศึกษาชาวไทใหญ่ที่แม่ฮ่องสอนแทน เช่น Nicola tannenbaum Nancy Eberhardt และ E. Paul Durrenberger เป็นต้น

สำหรับนักวิชาการไทยเพิ่งเริ่มจะทำวิจัยสนามในชุมชนไท ใหญ่ ดังจะเห็นได้จากงานของ ฉลาดชาย รมิตานนท์ และคณะ ที่เข้าไปศึกษาในหมู่บ้านไทใหญ่ที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงปี พ.ศ.2533-34 นอกจากนั้นงานของคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นรายงานการเดินทาง หรือข้อมูลทางชาติพันธุ์ เช่น งานของ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ และบรรจบ พันธุเมธา (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 10) อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทใหญ่ในประเทศไทยยังอยู่ในขั้น เริ่มต้นเท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากเอกสารของอังกฤษ งานทางชาติพันธุ์วรรณา และงานวิจัยสนามประกอบกับเพื่อจะได้เข้าใจความต่อเนื่องและพลังในการเปลี่ยน แปลงของสังคมไทใหญ่

งานวิจัยสนามช่วยให้มองเห็น ประเด็นเกี่ยวกับความต่อเนื่องและพลังทางสังคมได้ชัดเจน ดังเช่นของงานของ T'ien Ju-K'ang ได้อธิบายว่า ชาวไทใหญ่แถบเมืองขอนสนใจการจัดงานบุญต่างๆมาก เพราะสามารถทำให้มีเกียรติและอำนาจในชุมชน ขณะเดียวกันก็ชี้ว่าความผูกพันทางสังคมมีมากในกลุ่มคนที่อยู่ในวัยเดียวกัน ซึ่งเห็นได้จากการร่วมแรงกันอย่างแข็งขัน ของกลุ่มหนุ่มสาวในการจัดงานบุญและแข่งขันกันเองในระหว่างคนวัยต่างรุ่นกัน Leshan Tan ก็พบว่าชาวไทใหญ่แถบนี้ ยังคงให้ความสำคัญกับการมีอำนาจและเกียรติยศ แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีงานบุญแล้วก็ตาม ดังนั้นจึงมีการแข่งขันกันแสวงหาอำนาจและเกียรติยศ ซึ่งสามารถทำได้โดยพยายามรักษาผลประโยชน์ของชุมชน โดยเฉพาะในความขัดแย้งของชุมชนอื่น ในสถานการณ์ดังกล่าวคนที่มีสถานภาพทางสังคมต่ำจะแสดงออกอย่างแข็งขัน การรักษาผลประโยชน์ของชุมชนยังรวมถึง การรักษาความลับของหมู่บ้าน และไม่หักหลังสมาชิกในชุมชน แม้ว่าจะเป็นคู่แข่งหรือคู่อาฆาตกันก็ตาม ข้อน่าสังเกตคือ การแข่งขันนั้นจะเกิดขึ้นในระหว่างคนรุ่นเดียวกันมากกว่าคนต่างรุ่นกัน อย่างไรก็ตามมีตระกูลหนึ่งที่ผูกขาดอำนาจเป็นแก่บ้านมาตลอด โดยสืบทอดผ่านตระกูลทางพ่อ

การศึกษาไทใหญ่ที่แม่ฮ่องสอนก็ยังคงเน้นที่ความคิดเห็น เกี่ยวกับอำนาจ แต่หันมามองระบบความเชื่อในจักรวาลวิทยาและศาสนาพุทธมากขึ้น Tannenbaum (อ้างใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ มปป : 10) เห็นว่าอำนาจในความคิดของชาวไทใหญ่ เกี่ยวพันกับการปกป้องมากกว่าการช่วยให้เกิดผลดี เช่น ป้องกันภัยจากเคราะห์ หรืออยู่ยงคงกระพัน ความรู้เกี่ยวกับจักรวาลก็แสดงอำนาจ คำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ เพราะอธิบายจักรวาล แต่ความรู้เป็นอันตราย ดังนั้นคนต้องมีอำนาจระดับหนึ่งจึงจะแสวงหาความรู้ได้ อำนาจของภูมิปัญญานี้เป็นพลังที่สืบทอดมาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทใหญ่ โดยผ่านกลุ่มที่เรียกว่าครูหมอ ซึ่งชาวไทใหญ่ที่แม่อายได้สานต่อเพื่อสร้างสำนึกทางชาติพันธุ์ ดังจะเห็นได้จากการจัดพิธีไหว้ครูหมดไต เป็นศูนย์รวมชาวไทใหญ่ในประเทศไทย

สำหรับการศึกษาโครงสร้างสังคม เช่น ระบบเจ้าฟ้า ระบบเครือญาติ และการถือครองที่ดิน มีเพียงประปรายเท่านั้น กล่าวคือยังไม่มีการวิเคราะห์เจาะลึกเช่นเรื่องของอำนาจ และที่สำคัญยังไม่มีความพยายามในการเชื่อมโยงสถาบันทางสังคม และระบบความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไปในบริบทที่แตกต่างกัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การศึกษาสังคมและวัฒนธรรมไทใหญ่ยังเปิดกว้างอยู่ สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการและความสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มคนที่พูด ภาษาไท ซึ่งต้องอาศัยความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาที่ผ่านมา แต่ที่สำคัญควรจะต้องศึกษาทบทวนความคิดจากเอกสารบันทึกข้อมูลด้านชาติพันธุ์ วรรณาต่างๆ ของอังกฤษ และไทยอย่างจริงจัง และหากเป็นไปได้เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในพม่าเอื้ออำนวย ก็ควรมีการศึกษาภาคสนามมากยิ่งขึ้น ในขณะนี้อาจจะเข้าไปศึกษาภาคสนามในเขตใต้คงขอวงแคว้นยูนานก่อนก็ได้ ซึ่งน่าจะทำได้โดยผ่านการศึกษาร่วมกันกับนักวิชาการในจีน แต่ที่ผ่านมายังคงมีเพียงการเดินทางผ่านไปของนักวิชาการไทยระยะสั้นๆเท่า นั้น

ถิ่นที่อยู่ปัจจุบันของชาวไทใหญ่

ปัจจุบันชาวไทใหญ่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศต่างๆ หลายประเทศ ได้แก่ ประเทศพม่า ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ในเขตรัฐไทใหญ่ (รัฐฉานหรือรัฐชาน) ในภาคเหนือของประเทศพม่า มีเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองของชาวไทใหญ่มาแต่โบราณอันได้แก่ เมืองแสนหวี สีป้อ น้ำคำ หมู่เจ เมืองนาย เมืองปั่น เมืองยองห้วย เมืองต่องจี เมืองกาเล เมืองยาง เมืองมีด และเมืองอื่นๆ อีกมากมาย ในประเทศจีนมีชาว ไทใหญ่จำนวนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลยูนานอันมีเมืองมาว เมืองวัน เมืองหล้า เมืองตี เมืองขอน เจฝาง เมืองแลง เมืองฮึม เมืองยาง เมืองกึ๋งม้า เมืองติ่ง เมืองแข็งหรือเมืองแสง เมืองบ่อ หรือ เมืองเชียง หรือเมืองเชียงกู่ เมืองเมือง เป็นต้น

ประเทศไทยมีชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาทำมาหากินในจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เพิ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานได้ไม่มากนัก ประเทศอินเดีย ในรัฐอัสสัม มีชาวไทใหญ่ที่อพยพจากประเทศพม่าเข้าไปตั้ง รกรากทำมาหากินเป็นระยะเวลามากกว่า 600 ปีขึ้นไป และประเทศลาว ในภาคเหนือก็มีชาวไทใหญ่ที่เรียกตนเองว่าไทใหญ่เหนืออาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง ด้วยเช่นเดียวกันจะเห็นได้ว่าปัจจุบันชาวไทใหญ่มีถิ่นที่อยู่อาศัยกระจาย เป็นอาณาบริเวณกว้างขวางตั้งแต่บริเวณรัฐอัสสัมของอินเดียทางตอนเหนือของ พม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทางเหนือของไทใหญ่และลาว เขตนี้อาจถือได้ว่าเป็นเขตตะเข็บชายแดนของอำนาจรัฐหรืออาณาจักรใหญ่มาแต่ เดิมไม่ว่า จะเป็น อาณาจักรปยู อาณาจักรจีน อาณาจักรเวียดนาม อาณาจักรมอญ และแม้ในปัจจุบันก็ยังถือได้ว่าเป็นเมืองชายขอบชายแดนของอินเดีย พม่า จีน และ ลาว ด้วยเหตุที่ว่าเขตนี้เป็นพื้นที่เขตป่าใหญ่เขาสูง ทุ่งราบแคบและไม่มีทางออกทะเล

ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ตามหุบเขา แต่ละหุบเขามักจะตั้ง ชื่อเป็นชุมชนระดับหมู่บ้าน หากเป็นที่ราบในหุบเขาที่กว้างใหญ่ก็อาจมีชุมชน ขนาดใหญ่ที่ก่อตั้งเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ม่าน หรือ ว่าน ( บ้าน ) มีขนาดตั้งแต่ 20 หลังคาเรือน และมีขนาดใหญ่จนถึงขนาด 700 – 1000 หลังคาเรือน เมืองมักจะตั้งอยู่ในบริเวณที่มีหมู่บ้านหลายๆหมู่บ้านอยู่ใกล้ เคียงกันและด้านหลังของเมืองมักจะเป็นเชิงเขาหันหน้าเข้าสู่ทุ่งนา ชีวิตของไทใหญ่ ใหญ่ผูกพันอยู่กับทุ่งนา ปลูกข้าว ปลูกผัก ถั่ว ใบยาสูบ แตงโมและพืชล้มลุกอื่นๆ ชีวิตถูกกำหนดด้วยฤดูกาล ที่จะเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตการทำงาน การประกอบ พิธีกรรม และประเพณีทางศาสนาต่างๆ ตลอดปี เมืองไทใหญ่ใหญ่แต่ละเมืองเดิมมา นั้นมักจะมีต้นเสื้อเมือง อันเป็นต้นไม้ใหญ่ประจำเมือง อาจอยู่ห่างเมืองออกไป แต่ไม่ไกลนัก ทุกปีจะมีการไหว้เสื้อเมืองโดยมีเจ้าฟ้าขุนนางอำมาตย์ต่างๆ และ ปู่กั้ง ปู่เหง ปู่สึ่ง และปู่กาบ ของทุกเขตทุกกั้งและทุกหมู่บ้านมาร่วมพิธีหมู่บ้าน ทุกแห่งจะมีเสื้อบ้านและหอเสื้อบ้านเพื่อให้ชาวบ้านทุกคนมาประกอบพิธีกรรม เพื่อ ความเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน และเพื่อความอยู่ดีกินดี พืชพันธุ์เจริญงอกงาม วัวควาย สัตว์เลี้ยงทั้งหลายเติบโต ปราศจากโรคภัย

จากสภาพทางภูมิศาสตร์ ถิ่นที่อยู่ และความเชื่อประเพณี พิธีกรรมที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องผีสางนางฟ้า ทำให้ชีวิตของชาวไทใหญ่ดูไม่แตกต่างจากชาว ไทใหญ่ลื้อ ไทใหญ่วนลาว ไทใหญ่ดำ ไทใหญ่ขาว และไทใหญ่กลุ่มอื่นๆ มากนัก ภูเขาสูง แม่น้ำกว้างใหญ่ เช่น แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง อันเป็นแม่น้ำใหญ่สามสายในเขต ชุมชนชาวไทใหญ่ไม่ได้เป็นเครื่องกีดขวางการติดต่อไปมาหาสู่กันระหว่างชาวไท ใหญ่ใหญ่และชาวไทใหญ่กลุ่มอื่น ขณะเดียวกันชาวไทใหญ่ก็ติดต่อกับกลุ่มชาติพันธ์กลุ่ม อื่นๆ ในบริเวณเดียวกันและในดินแดนที่ห่างออกไปด้วย ในเขตภูเขาสูงมักมีชนเผ่า คะฉิ่นที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ขาง อาศัยอยู่ ในระดับสูงที่ไม่สูงมากนักมีพวก อาซาง เต๋ออ๋างและปะหล่อง ที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ไทใหญ่สา และ ไทใหญ่ดอย( ออกเสียงว่า ชาวไทใหญ่ลอย หรือ ชาวไทใหญ่หลอย ) นอกจากนี้ยังมีชาวจีนฮั่นหรือชาวจีนที่อพยพมาอยู่ตามเชิงเขาทำไร่ทำนาภูเขา ชาวฮั่นกลุ่มนี้ไม่กล้าอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มหรือในทุ่งนาเหมือนชาวไท ใหญ่ไทใหญ่ใหญ่สำหรับคนฮั่นแล้วถือว่าเป็นเขตไข้ป่ามาลาเรียที่รุนแรง มากแม้การเดินผ่านทุ่งนากลางวัน ก็ยังนับว่าเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง ถึงชีวิตเลยทีเดียวฉะนั้นในเขตนี้ ชาวฮั่นส่วนมากจึงอาศัยอยู่แต่ในเขตภูเขาเท่านั้น หลังการปฏิวัติในประเทศจีน เริ่มมีชาวคะฉิ่นอพยพลงมาอยู่ในที่ราบและทำนากัน มากขึ้น

ในประวัติศาสตร์อันยาวนาน ชาวไทใหญ่มีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มากมาย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในเชิงของการเป็นผู้ให้ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นผู้รับด้วย วัฒนธรรมไทใหญ่แม้จะดูเหมือนว่าเป็นวัฒนธรรมของคนใน หุบเขาห่างไกล ดูเหมือนว่าอยู่กันโดดเดี่ยว แต่แท้จริงแล้ว ได้ติดต่อสัมพันธ์กับชนต่างกลุ่มมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มใหญ่กลุ่มน้อยที่มีอำนาจรัฐ ก่อร่างสร้างเป็นอาณาจักร เช่น ปยู ( ผิ่ว หรือ เผี่ยว ) พม่า (ไทใหญ่ใหญ่เรียกพม่าว่า ม่าน )ป่าย หยี ฮั่น ( ชาวไทใหญ่เรียกชาวจีนฮั่นว่า เข่หรือแข่ ) และการรับเอาวัฒนธรรมอินเดียและจีนผ่านอาณาจักรใหญ่ ตลอดจนการติดต่อสัมพันธ์กับชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในรูปของการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าเครื่องใช้จำเป็นอาหารการ กินและอื่นๆ เป็นต้นกลุ่มไทใหญ่นับเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากเป็นที่สองรอง จากชาวพม่าเขตบริเวณที่อยู่อาศัยได้แก่ที่ราบสูงฉาน ( Shan Plateau) จากหลักฐานต่างๆ ที่นักประวัติศาสตร์ได้พบค้นพบ เชื่อว่าชาวไทใหญ่อพยพมาจากบริเวณ ตอนใต้ของประเทศจีนในปัจจุบันเมื่อประมาณศตวรรณที่ 7 โดยบางกลุ่มก็อาศัย อยู่ในบริเวณที่ราบร่วมกับชาวพม่าและ ชาวมอญ ในขณะที่บางพวกแยกตัวขึ้นไป อยู่ในบริเวณที่ราบสูงและได้แบ่งแยกดินแดนออกเป็น 33 แคว้น แต่ละแคว้นมี เจ้าฟ้า ( Sawbwa ) ปกครองโดยการสืบสันตติวงศ์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐฉานกับราชสำนักพม่าเป็นไปอย่างหลวมๆบางยุคสมัย อาณาจักรไทใหญ่ก็จะแยก ตัวเป็นอิสระ แต่ในบางยุคเมื่อพม่ามีความเข้มแข็งก็จะผนวกรัฐฉานเข้ามาอยู่ในอำนาจ แต่ราชสำนักก็จะปล่อยให้บรรดาเจ้าฟ้าปกครองแว่นแคว้นของตนเอง และจะส่งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาประจำราชสำนักของรัฐฉาน เพื่อทำหน้าที่ที่ปรึกษา พร้อมกับการส่งนายพล ซึ่งควบคุมกองทัพทหารพม่าจำนวนหนึ่งมาประจำการที่เมืองนาย ( Mongnai) เพื่อทำหน้าที่ดูแลควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อย และคอยปราบปรามเจ้าฟ้าที่ยัง ท้าทายอำนาจ

ชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (คณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน มปป. : 19-20)

นับเป็นเวลานานถึง 150 ปีมาแล้วที่ “ ชาวไทใหญ่ ” ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในท้องถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน จากหลักฐานการบอกเล่าของ “ จเร ” คือ ผู้เรียนรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ ชาวไทใหญ่จากประวัติแม่ฮ่องสอนและจากการศึกษาประวัติความเป็นมาของเมือง แม่ฮ่องสอนได้บ่งบอกให้ทราบว่า “ ชาวไทใหญ่ ” ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองแม่ฮ่องสอนนั้นเป็นชาวไทใหญ่ที่อพยพมาจากดินแดน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่าที่เรียกกันว่า “ รัฐฉาน ” แถบเมืองหมอกใหม่ เมืองนาย เมืองลานเคอ และเมืองอื่นๆ แถบลุ่มแม่น้ำสาละวินเข้ามาอาศัยในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเมื่อราว พ.ศ. 2374 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชาวไทใหญ่ได้เข้ามาอาศัยทำไร่ปลูกพืชตามฤดูกาล เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วก็เดินทางกลับเข้าไปในดินแดนรัฐฉานดังเดิม ทำเช่นนี้จวบจนราว พ.ศ. 2493 จึงอพยพมาปักหลักตั้งถิ่นฐาน ที่บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบอาชีพด้วยการปลูกพืช ทำไร่ ทำนา และใน พ.ศ.2393 เมืองเชียงใหม่ ส่งเจ้าแก้วเมืองมาให้มาจับช้างป่าฝึกสอนไปเพื่อใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมาได้รวบรวมชาวไทใหญ่ที่ยังอยู่กระจัดกระจายให้มาอาศัยอยู่รวม กันในบริเวณที่ตั้งเป็นเมืองแม่ฮ่องสอนปัจจุบัน เมื่อราวปี พ.ศ. 2417 เจ้าเมืองเชียงใหม่เห็นว่าบ้านแม่ฮ่องสอนและบ้านปางหมูมีคนอาศัยอยู่มากมาย แล้ว สมควรยกฐานะขึ้นเป็นเมืองจึงตั้งเป็นเมืองแม่ฮ่องสอนและตั้งให้ชาวไทใหญ่ นามว่า “ ชานกะเล ” ให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกมีบรรดาศักดิ์เป็นพญาสิงหนาทราชา และมีเจ้าเมืองต่อมาอีก 3 คน จนเปลี่ยนเป็นระบบการบริหารราชการแผ่นดินมาเป็นจังหวัดแม่ฮ่องสอน

จากระยะเวลาอันนานร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนก็ยังดำรงชีวิตอยู่ โดยยึดเอาวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่าง “ ไทใหญ่ ” ตลอดมาและขณะเดียวกันก็ยังคงมีความผูกพันฉันพี่น้องกับชาวไทใหญ่ที่อาศัย อยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่ามีการติดต่อค้าขาย ไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนกันตลอดมาแม้ว่าในบางครั้งจะเกิดเหตุการณ์ไม่สงบบ้าง ทางการเมือง ก็ยังคงมีการติดต่อกันอยู่เสมอ เดิมชาวไทใหญ่ได้อาศัยในรัฐฉานประเทศพม่าและบางส่วนได้อพยพอาศัยอยู่ใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จากการประชุมสัมมนาที่บ้านปางหมูเรื่อง “ ชาวไทใหญ่และวัฒนธรรมไทใหญ่ ” จเรคือผู้เรียนรู้หลายท่านที่ได้รับเชิญจากหมู่บ้านต่างๆ ทั้งในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจากเมืองไทใหญ่ชายแดนประเทศพม่า และจากเมืองไทใหญ่ในรัฐฉานต่างก็ให้คำยืนยันว่าชาวไทใหญ่นั้นใช่อื่นไกล หากแต่เป็นคนไทยเช่นเดียวกับคนไทยที่อาศัยอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทยส่วน อีกกลุ่มหนึ่งลงไปตามน้ำ “ คง ” หรือแม่น้ำสาละวินตั้งหลักแหล่งอยู่ 2 ฝั่งแม่น้ำอยู่ทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า แถบรัฐฉานสร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาใหม่มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกับศิลป วัฒนธรรมพม่า และก็แตกต่างไปจากวัฒนธรรมอื่นๆ ในภาคเหนือที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบล้านนา

จำนวนผู้เข้าชม : 56210

กลับหน้าหลัก ฐานข้อมูล